เมื่อมีการสูญเสียฟันเกิดขึ้น ปัญหาที่มักเกิดตามมา คือ เกิดช่องว่างระหว่างซี่ฟันทำให้เคี้ยวไม่สะดวก, ฟันคู่สบห้อยย้อยลงมา, ฟันข้างเคียงล้มทำให้เกิดช่องว่างระหว่างซี่จนเศษอาหารติด เป็นต้น การทดแทนฟันที่หายไปจึงมีความจำเป็นเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาต่างดังกล่าว
การใส่ฟันด้วยสะพานฟัน เป็นอีกวิธีหนึ่งในการใส่ฟันทดแทนแบบติดแน่นที่มีประสิทธิภาพและทำกันมานาน สะพานฟันคือครอบฟันติดกัน 3-4 ซี่ โดยซี่แรกและซี่สุดท้ายจะเป็นครอบฟันที่นำไปยึดกับฟันธรรมชาติที่อยู่หน้าและหลังของช่องว่างที่โดยถอนฟันไป โดยมีฟันปลอมแขวนตรงกลาง 1-2 ซี่เพื่อแทนที่ฟันที่หายไป

สะพานฟันที่มักใช้บ่อยที่สุดสามประเภท ได้แก่
- สะพานฟัน (Fixed Bridges)
เป็นสะพานฟันประเภทที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในทางทันตกรรมและทำจากเซรามิกหรือพอร์เซเลนหลอมกับเหล็ก ครอบฟันทำขึ้นสำหรับฟันทั้งสองข้างของฟันที่ หายไป (ฟันหลัก) โดยมีช่องว่างระหว่างฟันทั้งสองซี่
ประเภทของวัสดุที่ใช้ในการทำสะพานฟัน
สะพานฟันที่ประกอบด้วยครอบฟันแบบเซรามิกและโลหะ Porcelain-fused to Metal (PFM) Bridge
- ข้อดี มีความแข็งแรงและทนทานมากกว่าการครอบฟันแบบเซรามิกล้วนและสีใกล้เคียงสีฟันจริง
- ข้อเสีย การครอบฟันประเภทนี้อาจต้องมีการกรอฟันปริมาณมากกว่าแบบอื่น
สะพานฟันที่ประกอบด้วยครอบฟันแบบเซรามิกล้วน All Porcelain Bridge
- ข้อดี สีฟันใกล้เคียงสีฟันจริงมากที่สุด จึงเหมาะกับการรักษาฟันบริเวณฟันหน้า
- ข้อเสีย การครอบฟันประเภทนี้อาจต้องมีการกรอฟันปริมาณมากกว่าแบบอื่น
สะพานฟันที่ประกอบด้วยครอบฟันแบบโลหะล้วน (ทอง) All Gold Bridge
- ข้อดี แข็งแรงและทนทาน กรอแต่งผิวฟันน้อย
- ข้อเสีย สีไม่สวยงาม
ขั้นตอนการทำสะพานฟัน
ขั้นตอนในการรักษามีหลายกระบวนการและหลายขั้นตอน อาจต้องใช้ระยะเวลาในการรักษา 1-2 vอาทิตย์ เนื่องจากมีการนำแบบพิมพ์ฟันจำลองไปยัง Lab สำหรับทำสะพานฟัน เพื่อให้มีขนาดเหมาะสมและพอดีในการรักษา
- ทันตแพทย์ตรวจฟันและฉีดยาชาบริเวณฟันที่จะกรอก่อนทำสะพานฟัน
- กรอฟันเพื่อเป็นฐานให้แก่สะพานฟัน หากฟันที่เป็นฐานมีการอุดฟันไว้ ส่วนที่ถูกอุดฟันจะดึงออก เนื่องจากจะมีการทำการครอบฟันลงไปแทนที่
- การจดบันทึก สี ขนาด รูปร่างของฟันที่ต้องการในการทำสะพานฟัน
- พิมพ์ฟันเพื่อทำแบบจำลอง และส่งแบบจำลองไปยัง Lab เพื่อทำสะพานฟัน
- ทันแพทย์จะทำการติดสะพานฟันชั่วคราวให้ สำหรับใช้งานระหว่างการรอผลิตสะพานฟันแบบถาวร
- หากสะพานฟันชั่วคราวมีอาการหลวมหรือหลุด ให้รีบทำการนัดทันตแพทย์เพื่อรักษาและแก้ไข พร้อมนำสะพานฟันชั่วคราวชิ้นส่วนนั้นมาด้วย
- ควรดูแลและทำความสะอาดสุขอนามัยภายในช่องปากขณะติดสะพานฟันแบบชั่วคราว
- ขั้นตอนการใส่สะพานฟันจริง ทันตแพทย์จะทำการรื้อสะพานฟันแบบชั่วคราวออก
- ติดยึดสะพานฟันแบบถาวรบนฟันด้วยเรซิ่นซีเมนต์ และตรวจเช็คพร้อมปรับแต่งให้มีความเหมาะสม
ข้อดีข้อเสียของการทำสะพานฟัน
ข้อดี
- ทดแทนฟันซี่ที่สูญเสียไป
- ป้องกันปัญหาการล้มของฟันซี่ข้างเคียง
- การออกแบบดูเป็นธรรมชาติคล้ายคลึงกับฟันตามธรรมชาติ
- กำจัดปัญหาความรำคาญเรื่องการถอดใส่ เป็นฟันปลอมแบบติดแน่น
- ไม่ต้องมีการผ่าตัด
- ใช้เวลาน้อย เพียง 1-2 อาทิตย์ก็สามารถมีฟันใช้เคี้ยวได้ตามปกติ
- เพิ่มความมั่นใจในรอยยิ้ม และปรับบุคลิกภาพได้ดียิ่งขึ้น เพราะไม่ต้องมีการถอดเข้าออกมาทำความสะอาด
ข้อเสีย
- มีความเป็นไปได้ที่จะมีการผุของฟันใต้สะพานฟัน
- กาวหรือซีเมนต์ที่ใช้ในการยึดอาจหมดสภาพตามกาลเวลา
- จำเป็นที่จะต้องได้รับการตรวจสภาพอย่างเป็นประจำ
- ทำให้สูญเสียเนื้อฟันธรรมชาติของฟันซี่ข้างๆไปเพื่อใช้เป็นฐานรองรับสะพานฟัน
การดูแลรักษาหลังการทำสะพานฟัน
- หลังจากทำสะพานฟัน ควรหลีกเลี่ยงการเคี้ยวอาหารแข็งภายใน 24 ชั่วโมงหลังการยึดติดสะพานฟัน ควรรับประทานอาหารอ่อนจนกว่าจะชินกับสะพานฟัน ผู้ป่วยบางท่านอาจจะพบกับปัญหาเสียวฟัน ซึ่งสามารถหายได้เองภายในเวลาไม่นาน
- หลีกเลี่ยงอาหารที่ร้อนหรือเย็นเกินไป หรือมีความเป็นกรด การใช้ยาสีฟันและน้ำยาบ้วนปากที่มีฟลูออไรด์ ตลอดจนการรับประทานยาแก้ปวด สามารถช่วยป้องกันหรือบรรเทาอาการเสียวฟันได้
- การใส่ฟันปลอมแบบสะพานฟันจะมีค่าใช้จ่ายสูงกว่าฟันปลอมแบบถอดได้ทั่วไป และที่สำคัญต้องทำความสะอาดให้ดี เพราะด้วยความที่มันติดแน่นอยู่ในปากของเรา จึงทำความสะอาดได้ยากกว่าฟันปลอมแบบถอดได้ เราจึงต้องดูแลทำความสะอาดช่องปากของเราเป็นอย่างดี
- ระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเคี้ยวของแข็ง (เช่น น้ำแข็ง กระดูก) บริเวณสะพานฟัน
- ทำความสะอาดด้วยไหมขัดฟันอย่างน้อยวันละ 1-2 ครั้ง
- พบทันตแพทย์เป็นประจำทุก 6 เดือน
- ดูแลรักษา และป้องกันฟันผุ และโรคเหงือก ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของการสูญเสียฟัน