ทันตกรรมรากฟันเทียม

ติดตามเรา

ทันตกรรม รากฟันเทียม

     ทันตกรรมรากเทียม (Dental Implant)   เป็นเทคโนโลยีการทดแทนฟันที่สูญเสียไป โดยใช้วัสดุแข็งแรงมาเป็นรากฟันเทียมทดแทนรากฟันธรรมชาติ

     โดยปัจจุบันนิยมใช้รากฟันเทียมที่มีทั้งรากและตัวฟันเนื่องจากมีลักษณะเปรียบเสมือนฟันธรรมชาติใช้งานได้เหมือนจริง และช่วยป้องกันกระดูกขากรรไกรละลาย 

     ในการปลูกรากฟันเทียมนั้น ผู้ป่วยจะต้องมีเหงือกและกระดูกรองรับรากฟันที่แข็งแรง และหลังรับการปลูกรากฟันแล้ว ผู้ป่วยจะต้องดูแลสุขภาพในช่องปากอย่างสม่ำเสมอมาพบทันตแพทย์เพื่อตรวจสภาพรากฟันเทียมตามนัด

รากเทียมเหมาะกับใครบ้าง ?

รากเทียมเหมาะกับใครบ้าง
  1. รากฟันเทียมสามารถทำได้กับผู้ใหญ่ที่มีอายุ 21 ปีขึ้นไป หรือมีการหยุดการเจริญเติบโของขากรรไกรแล้ว
  2. ผู้ที่มีสุขภาพแข็งแรงพอที่จะรับการผ่าตัดในช่องปากได้อย่างปลอดภัย
  3. ในกรณีวัยรุ่นจะยังมีการเจริญเติบโตของกระดูกขากรรไกร จึงจำเป็นต้องรอให้ขากรรไกรหยุดการเจริญเติบโตก่อนจึงจะสามารถใส่รากฟันเทียมได้

วัสดุที่ใช้ทำรากเทียม

      รากเทียมโดยทั่วไปแล้วจะผลิตจากโลหะผสมไททาเนียม เนื่องจากมีความแข็งแรงและสามารถเข้ากับเนื้อเยื่อของร่างกายได้อย่างดี

Dental implant

Dental implant

   คือส่วนที่ปักลงไปให้ยืดติดกับกระดูก ซึ่งจะมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางและความยาวหลายขนาด ขึ้นอยู่กับทันตแพทย์เป็นผู้ประเมินและเลือกใช้กับคนไข้แต่ละบุคคล

Cover screw

Cover screw

     เป็นส่วนที่ปิดรูสกรูของรากฟันเทียมก่อนทำการเย็บปิดแผ่นเหงือกในขั้นตอนของการฝังรากฟันเทียม ซึ่งจะมีขนาดให้เลือกตามขนาดของรากเทียมที่ทันตแพทย์เลือกใช้

Healing cap

Healing cap

     เป็นโลหะรูปทรงกรวย ทำหน้าที่ผายเหงือก ขนาดความสูง 4 มิลลิเมตร ส่วนปลายมีลักษณะเป็นสกรูสำหรับขันลงไปในรากฟันเทียม ส่วนบนมีรูหกเหลี่ยม สำหรับใช้Hex Driver ไขได้

คุณสมบัติของรากฟันเทียม

คุณสมบัติของรากฟันเทียม

     รากฟันเทียมที่ทำเสร็จแล้วจะประกอบด้วยส่วนประกอบที่ประกอบเข้าด้วยกันขึ้นเป็นฟัน 1 ซี่ จะมีทั้งหมด 3 ส่วนที่สำคัญ ดังนี้

  1. รากเทียม (Fixture) ทำมาจากโลหะไทเทเนียม (Titanium) มีลักษณะคล้ายรากฟันและฝังอยู่ในกระดูกขากรรไกร สามารถยึดติดได้อย่างแน่นสนิทโดยไม่ทำให้เนื้อเยื่ออักเสบ และไม่เกิดผลข้างเคียง
  2. เดือยรองรับครอบฟัน (Abutment) เมื่อฝังรากเทียมบนกระดูกขากรรไกรเพื่อให้รากเทียมยึดติดกับกระดูกขากรรไกรได้ดีต้องใช้เวลาประมาณ 4 – 6 เดือน จากนั้นจึงใส่เดือยรองรับคราบฟันบนรากเทียมเพื่อใช้เป็นที่รองรับครอบฟันต่อไป
  3. ครอบฟัน (Crown) คือส่วนที่อยู่ด้านบนของเหงือก ทำมาจากเซรามิค (Porcelain) มีรูปร่างลักษณะและสีเหมือนฟันธรรมชาติ
ขั้นตอนการทำรากเทียม

ขั้นตอนการทำรากเทียม

  1. ตรวจในช่องปาก ตรวจการสบฟันและเอกซเรย์ (ในบางเคสอาจต้องมีการถ่ายภาพเอ็กซเรย์ 3 มิติ)
  2. ประเมินสุขภาพและโรคประจำตัวของคนไข้ โดยซักประวัติ สอบถามการแพ้ยา โรคประจำตัวโดยละเอียด
  3. การวางแผนการรักษา
  4. ทำการรักษาอื่นๆในช่องปากก่อนการฝังรากเทียม (เช่น ขูดหินปูน รักษารากฟัน ถอนฟัน)
  5. ฝังรากเทียม โดยอาจมีหรือไม่มีการปลูกกระดูกร่วมด้วย (ในบางกรณีอาจต้องทำการปลูกกระดูกก่อนและรอระยะเวลา 6-9 เดือนเพื่อให้กระดูกสมานดีถึงจะฝังรากเทียมได้ หรือในฟันหลังบน อาจต้องมีการยกไซนัส)
  6. หลังจากรอระยะเวลาให้รากเทียมยึดติดแน่นกับกระดูกได้ดีแล้ว ซึ่งธรรมดาจะใช้เวลาประมาณ 3 เดือนจึงเริ่มทำการพิมพ์ปากเพื่อทำครอบฟันใส่ต่อไป
  7.  
ข้อดีและข้อเสียของรากเทียม

ข้อดีของรากเทียมและข้อเสียของรากเทียม

ข้อดี

  • ในกรณีที่ทำเพื่อทดแทนฟันที่ถอนไปบางซี่ จะไม่สูญเสียเนื้อฟันธรรมชาติของฟันข้างเคียง
  • ในกรณีที่ทำเป็นฐานฟันปลอมชนิดถอดได้ จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานและการยึดติดของฟันปลอมในช่องปาก
  • ทดแทนฟันแท้ที่สูญเสียไป
  • ฝังรากเทียมและใส่ฟันเสร็จในครั้งเดียว (เฉพาะบางกรณี)
  • เลียนแบบโครงสร้างฟันธรรมชาติ (ใช้งานและสวยงามเหมือนฟันธรรมชาติ)
  • ไม่ต้องกรอฟันข้างเคียงเพื่อใส่สะพานฟัน

ข้อเสีย

  • ค่าใช้จ่ายสูง และหากเป็นผู้ป่วยมีกระดูกไม่แข็งแรงหรือไม่เพียงพอก็มีต้องมีการผ่าตัดเพิ่มเติม
  • การผ่าตัดฝังรากเทียมอาจจะต้องมีการผ่าตัดหลายครั้ง
  • ระยะเวลา การทำรากเทียมจะต้องใช้ระยะเวลาอย่างน้อย 2 – 6 เดือน
  • ความต้านทานต่อเชื้อโรค ถึงแม้ครอบฟันและรากเทียมจะไม่ผุ แต่เหงือกและกระดูกรอบรากเทียมมีความต้านทานต่อเชื้อโรคต่ำกว่า จึงจำเป็นที่จะต้องได้รับการดูแลรักษาความสะอาดให้ดี เพราะถ้ามีการอักเสบของกระดูกรอบๆ รากฟันแล้ว อัตราการละลายตัวของกระดูกจะเร็วกว่าและรุนแรงกว่าที่เกิดในฟันธรรมชาติ

คำแนะนำหลังการปักรากเทียม

  1. กัดผ้าก๊อซให้แน่นประมาณ 1 ชั่วโมง หากมีเลือดไหลอีก ให้กัดผ้าที่สะอาดอีกครั้งนานประมาณ 1 ชั่วโมง
  2. ห้ามอมน้ำแข็ง ให้ใช้น้ำแข็งห่อประคบด้านนอกบริเวณแผลผ่าตัด
  3. งดบ้วนน้ำหรือน้ำยาบ้วนปากใดๆในวันแรกของการผ่าตัดและปักรากเทียมเพราะอาจทำให้เลือดที่ปิดปากแผลหลุดซึ่งจะทำให้เลือดไหลออกมาอีก
  4. สามารถแปรงฟันทำความสะอาดช่องปากได้ตามปกติ แต่ให้แปรงอย่างระมัดระวัง อย่าให้กระทบกระเทือนแผลผ่าตัด
  5. สามารถใช้น้ำเกลือ หรือ น้ำยาบ้วนปากที่มีการสั่งจ่ายโดยทันตแพทย์ บ้วนทำความสะอาดได้เบาๆ ในวันที่สองหลังการผ่าตัดปักรากเทียมเสร็จ
  6. ถ้ามีอาการปวด ให้รับประทานยาแก้ปวดครั้งละ 1-2 เม็ด และรับประทานยาตามที่ทันตแพทย์สั่งจ่ายมา
  7. ห้ามนำนิ้วมือ ไม้จิ้มฟัน หรือของแข็งใดๆ แคะเขี่ยบริเวณแผล และห้ามดูดแผลเล่น
  8. หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ หรือรับประทานอาหารรสเผ็ดจัดหรือร้อนจัดให้เลือกรับประทานอาหารอ่อนๆ เช่น ข้าวต้ม ซุป
  9. ถ้ามีอาการบวมหรือผิดปกติ ควรกลับไปพบทันตแพทย์

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่นโยบายความเป็นส่วนตัว

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลในการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาในการใช้งานที่ดีของเว็บไซต์ หากท่านไม่ยอมรับเว็บไซต์นี้จะไม่สามารถวัดผล เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

บันทึกการตั้งค่า