ครอบฟัน ceramic ครอบฟันชนิดนี้ได้รับการคิดค้นขึ้น เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ป่วยที่ต้องการความสวยงามสูงสุด เนื่องจากได้ใช้โครงเซรามิกที่แข็งแรงมาแทนโลหะ ซึ่งมีหลายชนิดได้แก่ โครง Zirconia, lithium-disilicate เป็นต้น
ทำให้มีความสวย ใส ดูเหมือนฟันธรรมชาติมากกว่า ดังนั้นจึงได้รับความนิยมอย่างมากมายในช่วงหลัง ทั้งนี้ทั้งนั้น การตัดสินใจว่าจะได้ครอบฟันชนิดนี้ได้หรือไม่ได้ ต้องขึ้นอยู่กับดุลพินิจของทันตแพทย์
เนื่องจากครอบฟันกลุ่มนี้ บางกรณีมีข้อจำกัดเรื่องความเปราะและแตกง่าย ดังนั้น การเลือกวัสดุ การออกแบบครอบฟัน รวมถึงการพิจารณาเลือกทำในฟันแต่ละซี่จึงมีความสำคัญมาก เพื่อไม่ให้เกิดการแตกของครอบฟันหากนำไปใช้งาน
ชนิดของครอบฟันเซรามิกมี 2 ชนิดขึ้นอยู่กับตำแหน่งซี่ฟันหรือตามที่คนไข้เลือก ดังนี้
ครอบฟันโลหะเซรามิก PFM(Porcelain fused to metal)
เป็นการประยุกต์ครอบฟันเพื่อให้มีสีใกล้เคียงธรรมชาติให้มีความสวยงาม หลักการคือใช้โครงโลหะเช่นเดียวกับครอบฟันโลหะล้วน แต่ภายนอกจะฉาบด้วยเซรามิก ครอบฟันชนิดนี้มีความแข็งแรงระดับหนึ่ง สามารถใช้เคี้ยวอาหารได้ปกติ แต่ไม่เหมาะสำหรับคนไข้ที่ชอบเคี้ยวของแข็ง
ข้อดี :
- ทำให้ภาพลักษณ์ดูเป็นธรรมชาติ เนื่องจากสีของวัสดุเซรามิกมีสีใกล้เคียงสีฟันจริง และมีส่วนผสมของโลหะ ซึ่งช่วยเพิ่มความแข็งแรง
- มีความแข็งแรงและทนทานมากกว่าการครอบฟันแบบ ใช้เซรามิกล้วน จึงเหมาะกับการรักษาบริเวณฟันกราม ซึ่งอยู่ด้านในและต้องใช้แรงกดดันในการบดเคี้ยวมากกว่าบริเวณฟันหน้า
ข้อเสีย :
- หากมีอาการเหงือกร่น อาจมีการมองเห็นเป็นเส้นสีเข้ม บริเวณของฟันที่นำมาครอบไว้ ซึ่งใกล้กับบริเวณเหงือก เนื่องจากเป็นบริเวณที่เป็นโลหะ
ครอบฟันเซรามิกล้วน (All Ceramic)
ครอบฟันชนิดนี้มีความสวยงามใกล้เคียงฟันธรรมชาติมาก รวมทั้งยังมีการพัฒนาให้มีความแข็งแรงสามารถใช้งานได้ได้ทั้งฟันหน้าฟันหลัง ตัดปัญหาเรื่องการติดสีที่ขอบเหงือกจึงเป็นที่นิยมอย่างมากในปัจจุบัน
ข้อดี :
- วัสดุทีใช้มีสีฟันใกล้เคียงสีฟันจริงมากที่สุด เนื่องจากวัสดุเรซิ่นและเซรามิกมีโทนสีใกล้เคียงสีฟันจริง และมีหลายเฉดสี ทันตแพทย์สามารถเลือกโทนสีให้เหมาะกับสีฟันจริงได้
- เนื่องจากมีสีใกล้เคียงฟัน จึงเหมาะกับการรักษาฟันบริเวณฟันหน้า เป็นบริเวณที่เห็นได้ชัดเจน จึงไม่ควรมีสีของโลหะอื่น
- ไม่มีส่วนผสมของโลหะ จึงทำให้ไม่มีสีของโลหะอยู่ในวัสดุที่ใช้ในการครอบฟัน เป็นการเพิ่มเสน่ห์และทำให้ภาพลักษณ์ไม่เปลี่ยนแปลง
- วัสดุที่ใช้สามารถใช้เซรามิกล้วนหรือผสมเรซิ่นได้ ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของแพทย์และความต้องการของคนไข้
ข้อเสีย :
- การครอบฟันประเภทนี้อาจต้องมีการกรอฟันปริมาณมาก โครงสร้างของฟัน จึงกรอออกไปมากเช่นกัน จึงทำให้ง่ายต่อการติดเชื้อ และอักเสบง่ายกว่าการครอบฟันประเภทอื่น
- มีความเปราะ แตกบิ่นได้ง่ายกว่า อาจมีข้อจำกัดในบางกรณี
ขั้นตอนการทำครอบฟัน
- ฉีดยาชาบริเวณฟันที่จะกรอเพื่อครอบฟัน
- การกรอฟันเพื่อเป็นฐานให้แก่ครอบฟัน
- การจดบันทึก สี ขนาด รูปร่างของฟันที่ต้องการในการทำครอบฟัน
- การพิมพ์ปากเพื่อทำแบบจำลอง
- แบบจำลองและรายละเอียดจะส่งห้องปฏิบัติการเพื่อทำครอบฟัน
- ทันตแพทย์จะติดครอบชั่วคราวให้แก่คนไข้สำหรับใช้งานระหว่างรองานจริง
- นัดคนไข้กลับมายึดติดครอบฟันจริง
คำแนะนำหลังทำครอบฟันเซรามิก
- เนื่องจากครอบฟันเป็นการใส่ฟันแบบติดแน่น ไม่สามารถถอดออกมาทำความสะอาดได้ การดูแลรักษาครอบฟันในช่องปากให้สะอาดอยู่เสมอนั้นจึงมีความสำคัญมากเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการผุใต้ครอบฟัน และ/หรือเหงือกอักเสบ ซึงจะส่งผลโดยตรงต่ออายุการใช้งานของครอบฟัน
- คนไข้สามารถทำได้ง่ายโดยแปรงฟันทำความสะอาดอย่างถูกวิธีเหมือนฟันธรรมชาติ ซึ่งรวมถึงการหมั่นใช้ไหมขัดฟันทำความสะอาดบริเวณซอกฟันด้วย
- ระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเคี้ยวของแข็ง (เช่น น้ำแข็ง กระดูก)บริเวณที่ทำครอบฟัน
- พบทันตแพทย์เป็นประจำทุก 6 เดือน
- ผู้ป่วยบางท่านอาจจะพบกับปัญหาเสียวฟัน ซึ่งสามารถหายได้เองภายในเวลาไม่นาน หากมีอาการรุนแรง เป็นอยู่ไม่หายให้กลับมาพบทันตแพทย์
ประโยชน์ของการครอบฟันเซรามิกมีดังนี้
- ช่วยปกป้องฟันที่อ่อนแอ เนื่องจากแตก หัก บิ่น มีการผุมาก หรือได้รับการรักษารากฟัน และช่วยให้มีความแข็งแรงดังเดิม
- ช่วยป้องกันฟันที่ได้รับการครอบจากการเกิดฟันผุ
- ช่วยปกปิดฟันซี่เดิมที่ไม่สวยงาม ด้วยครอบฟันที่มีรูปร่างและสีสันที่สวยตามที่ต้องการ
- ช่วยให้สามารถรักษาตำแหน่งฟันและประสิทธิภาพการทำงานให้เหมือนดังเดิม
- ช่วยบูรณะฟันที่มีรูผุใหญ่ หรือมีวัสดุอุดเดิมที่ใหญ่เกินไปได้
- ช่วยบูรณะและการคงสภาพการสบฟันของผู้ป่วยตามธรรมชาติ
- ช่วยให้มีรอยยิ้มที่สวยงาม