การอุดฟัน

Share

การอุดฟัน เป็นวิธีบูรณะฟันที่มีการสูญเสียเนื้อฟันจากสาเหตุต่างๆ อาทิ ฟันผุ ฟันสึกจากการแปรงฟันผิดวิธี ฟันแตกหักจากอุบัติเหตุ ที่ไม่รุนแรงจนถึงโพรงประสาทฟัน

การอุดฟัน

พฤติกรรมที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดฟันผุ

“ระยะเวลาและความถี่” ที่อาหารหวาน (น้ำตาล) สัมผัสกับตัวฟัน มีผลต่อการเกิดฟันผุมากกว่า “ปริมาณ”ของน้ำตาลที่มีอยู่ในอาหารและเครื่องดื่มนั้นๆ ดังนั้น หากรับประทานอาหารหรือเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลเป็นส่วนประกอบ โดยเฉพาะของหวานที่มีความเหนียวที่ทำให้น้ำตาลติดอยู่กับฟันนานๆ เช่น ลูกอม หรือการดื่มเครื่องดื่มบ่อยๆ เช่น การจิบน้ำหวาน หรือดื่มน้ำอัดลมที่มีส่วนผสมของน้ำตาลบ่อยๆ ระหว่างวัน จะยิ่งมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดฟันผุได้มากขึ้น

การอุดฟัน คือ การบูรณะฟันที่ผุ หรือแตกที่มีขนาดไม่ใหญ่มากด้วยวัสดุอุดฟัน ซึ่งแบ่งได้ตามลักษณะการอุดด้วยวัสดุ ดังนี้
วัสดุอุดอมัลกัม (Amalgam Filling) silver filling สีโลหะ จึงใช้อุดเฉพาะฟันหลังเท่านั้น ทันตแพทย์จึงต้องกรอฟันเป็นช่องลักษณะคล้ายกล่องเพื่อให้วัสดุยึดติดได้ หลังจากอุดฟันมักจะแนะนำให้งดเคี้ยวอาหารข้างที่อุก 24 ชั่วโมงเพื่อรอให้วัสดุอมัลกัมแข็งตัวเต็มที่

การดูแลหลังการอุดฟันด้วยอมัลกัม

  1. อายุการใช้งานของฟันที่ได้รับการอุดทุกซี่จะขึ้นอยู่กับ การใช้งาน และการดูแลทำความสะอาดเป็นหลัก ต้องหมั่นดูแลรักษาความสะอาดอยู่เสมอ
  2. ไม่ควรใช้ฟันที่เพิ่งอุดใหม่ๆเคี้ยวอาหาร ควรทิ้งไว้อย่างน้อย 24 ชั่วโมงเพื่อให้วัสดุแข็งตัวเต็มที่ให้เคี้ยวอาหารเฉพาะด้านที่ไม่ได้รับการอุดฟันเพียงข้างเดียวไปก่อน
  3. ควรกลับมาขัดวัสดุให้เรียบและขึ้นเงาตามที่ทันตแพทย์นัดหมาย การขัดเรียบจะช่วยให้แผ่นคราบแบคทีเรียเกาะติดได้ยากขึ้น ลดการเกิดการผุใหม่ตามขอบวัสดุและยืดอายุการใช้งานของฟันซี่นั้นด้วย
  4. พบทันตแพทย์ทุก 6 เดือนเพื่อตรวจสภาพฟันที่อุดไปว่าวัสดุยังอยู่ในสภาพดีไม่มีการผุต่อ
  5. ในกรณีที่มีการเสียวฟันหรือปวดฟัน หรือมีการแตกและหลุดของวัสดุอุดฟันควรพบทันตแพทย์ทันที

ข้อดีและข้อเสียของการอุดฟันด้วยอมัลกัม

ข้อดี

  • ราคาถูก
  • แข็งแรงและเหมาะกับฟันกรามเพราะทนแรงบดเคี้ยวได้ดี
  • ขั้นตอนการอุดฟันซับซ้อนน้อยกว่าการอุดด้วยวัสดุสีเหมือนฟัน ซึ่งส่งผลให้โอกาสเกิดความผิดพลาดในการอุดที่น้อยลง
  • อายุการใช้งานนาน

ข้อเสีย

  • หลังอุดต้องรอ 24 ชั่วโมงจึงจะใช้ฟันซี่นั้นบดเคี้ยวอาหารเพราะต้องรอให้วัสดุแข็งแบบสนิทก่อน
  • ต้องมีการกรอเนื้อฟันจริงๆออกมากกว่าเพราะวัสดุสีเงินต้องการความหนาของวัสดุให้เพียงพอต่อความแข็งแรง
  • ความสวยงามน้อย เนื่องจากมีสีไม่เหมือนฟันตามธรรมชาติ
  • การเปลี่ยนสีของฟัน วัสดุอมัลกัมอาจก่อให้เกิดการเปลี่ยนสีของเนื้อฟันรอบๆวัสดุอุดเป็นสีเทาเงิน

เมื่อมีการใช้งานผ่านไปสักพัก อาจมีโอกาสเกิดรอยรั่วตรงขอบวัสดุได้ เนื่องจากมีการเสื่อมของวัสดุ (amalgam leakage) จึงมีโอกาสเกิดฟันผุใต้รอยวัสดุอุดได้ง่าย

วัสดุสีเหมือนฟัน (Composite Resin Filling) Tooth-colored วัสดุอุดฟันจำพวกเรซิ่นหรือคอมโพสิตเรซิ่นจะมีสีเหมือนฟันธรรมชาติ และใช้บูรณะได้ทั้งฟันหน้าและฟันหลัง จึงเป็นที่นิยมมากสำหรับคนไข้ที่ต้องการความสวยงาม วัสดุชนิดนี้จะแข็งตัวได้ด้วยการฉายแสงจากเครื่องฉายแสงทางทันตกรรม โดยต้องอาศัยสารยึดติด (Bonding) ช่วยให้ยึดติดกับฟัน  การอุดฟันด้วยคอมโพสิต เรซิน ถือเป็นทันตกรรมเพื่อความงามอย่างหนึ่ง ซึ่งการอุดฟันด้วยวัสดุสีเหมือนฟันเพื่อบูรณะฟันแบบนี้จะทำในกรณีที่ไม่ได้มีการสูญเสียเนื้อฟันจากฟันผุ  แต่ต้องการอุดฟันเพื่อเสริมสร้างภาพลักษณ์ เช่น ฟันหน้าที่มีช่องห่างหรือที่มีการเปลี่ยนแปลงสีของฟัน ฟันที่มีรูปร่างเล็กกว่าปกติ

การดูแลหลังการอุดฟันด้วยวัสดุสีเหมือนฟัน

  1. ท่านที่มีฟันที่อุดด้วยคอมโพสิต ถ้าวัสดุหรือตามรอยขอบเปลี่ยนสี ควรให้ทันตแพทย์ตรวจเช็คดูว่า มีรอยรั่วหรือไม่ ท่านที่มีรอยอุดฟันในปากจึงควรให้ทันตแพทย์ตรวจสุขภาพช่องปากทุก 6 เดือน
  2. อายุการใช้งานก็ขึ้นอยู่กับการดูแลรักษา ควรหลีกเลี่ยงการใช้ฟันที่ได้รับการบูรณะกัดฉีกของแข็งหรือสิ่งของต่างๆ ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีสีจัด เนื่องจากวัสดุอุดจะดูดจับสีได้มากกว่าผิวฟัน อาหารที่มีฤทธิ์เป็นกรดจะมีผลต่อวัสดุอุด การฟอกสีฟันจะไม่สามารถเปลี่ยนสีวัสดุอุดได้
  3. ชา กาแฟ และการสูบบุหรี่ ตลอดจนสารอื่น ๆ อาจทำให้วัสดุอุดฟันเป็นคราบ ดังนั้น เพื่อป้องกันและลดการเกิดคราบให้น้อยที่่สุด
  4. สารประกอบเรซินที่ใช้อุดฟันไม่แข็งแรงเหมือนฟันจริง ดังนั้น หากมีพฤติกรรมกัดเล็บ เคี้ยวน้ำแข็งหรือปากกา ก็อาจทำให้วัสดุอุดฟันแตกหักได้ ตามปกติแล้ว วัสดุอุดฟันจะอยู่ได้นานหลายปี ควรจะต้องไปพบทันตแพทย์เพื่อบูรณะฟันใหม่หากตรวจพบว่าวัสดุเสื่อมสภาพ แต่วัสดุอุดฟันจะอยู่ได้นานเท่าใดนั้นขึ้นอยู่กับการดูแลรักษาความสะอาดเป็นหลัก
  5. หลังจากอุดฟันมาระยะหนึ่ง หากเห็นว่าฟันที่อุดมานั้นมีขอบแหลมคม รู้สึกว่าฟันแปลก ๆ หรือ กัดฟันมีจุดสูง จุดกระแทก หรือเสียวฟัน ตอนกัดฟัน ให้ติดต่อกลับมาตรวจเช็คกับทันตแพทย์อีกครั้ง

ข้อดีและข้อเสียของการอุดฟันด้วยวัสดุสีเหมือนฟัน

ข้อดี

  • ไม่มีสารปรอท
  • ดูแล้วเหมือนสีฟันธรรมชาติ สวยงาม มีสีให้เลือกหลายเฉดสีตาม สีของฟัน
  • วัสดุแข็งตัวทันทีโดยไม่ต้องรอ 24 ชั่วโมงก่อนใช้งาน
  • ทันตแพทย์ไม่ต้องกรอฟันออกมาก สามารถรักษาเนื้อฟันได้มากกว่าการใช้อมัลกัม เนื่องจากการอุดด้วยวัสดุสีเหมือนฟันสามารถทำได้ด้วยการกรอเนื้อฟันที่เสียออกเท่านั้น ขณะที่การอุดด้วยอมัลกัมต้องทำการกรอเนื้อฟันมากกว่าที่ผุเพื่อรองรับวัสดุอมัลกัม
  • สามารถใช้ในการตกแต่งและซ่อมแซมฟันที่บิ่น แตกหรือหักให้กลับมามีรูปร่างดีและมีความสวยงามดังเดิม
  • ปัจจุบันมีการพัฒนาวัสดุที่มีความแข็งแรงมากขึ้นเทียบเท่าหรือแข็งแรงกว่าอมัลกัม ทำให้สามารถมีอายุการใช้งานที่นานมากกว่า 10 ปี ขึ้นอยู่กับการใช้งานและดูแลรักษาของคนไข้

ข้อเสีย

  • ราคาสูงกว่า
  • ใช้เวลาในการอุดนานกว่า เนื่องจากวิธีการที่ซับซ้อนกว่า และต้องควบคุมความชื้นขณะที่ทำการรักษา
  • อาจมีการเสียวฟันได้หลังจากอุดฟันไป
  • สามารถติดสีจากอาหารและเครื่องดื่มที่บริโภค เช่น ชา กาแฟ หรือจากการสูบบุหรี่
  • ไม่เปลี่ยนสีขาวขึ้นเหมือนฟันธรรมชาติหากฟอกสีฟันขาวภายหลัง
  • การแตกของวัสดุ ขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่อุด
  • ราคาจะสูงกว่าการอุดด้วยวัสดุอมัลกัม(ไม่ได้แตกต่างกันมาก)

วัสดุอุดฟันชั่วคราว

วัสดุอุดฟันจะช่วยปิดคลุมฟันเพียงชั่วคราวเพื่อดูอาการหรือรอการรักษาอื่นๆต่อไป วัสดุอุดฟันชั่วคราวไม่ได้มีไว้ใช้งานอย่างถาวร ตามปกติแล้ว วัสดุเหล่านี้จะหลุด แตก หรือสึกกร่อนภายในหนึ่งหรือสองเดือนเท่านั้น จึงใช้เฉพาะเวลาสั้นๆเพื่อรอดูอาการหรือรอการรักษาอย่างอื่นต่อไป

การดูแลหลังการอุดฟันด้วยวัสดุชั่วคราว

  1. ไม่ควรใช้ฟันที่อุดด้วยวัสดุชั่วคราว ( สีขาว ) ใน 1-2 ชั่วโมงแรก เนื่องจากวัสดุชั่วคราวจะนิ่มมากและหลุดง่าย หลังจากนั้นวัสดุ จะค่อยๆแข็งตัวขึ้น
  2. วัสดุชั่วคราว มีอายุการใช้งานที่จำกัด จะค่อยๆๆกร่อนไปภายใน 2-4 สัปดาห์ จึงควรกลับมาพบทันตแพทย์ เพื่อทำการรักษาฟันซี่นั้นให้ถาวร และสามารถใช้งานได้ตามปกติ
  3. ในกรณีที่มีอาการเสียวฟันหรือปวดฟัน หรือมีการแตกและหลุดของวัสดุอุดฟัน ควรเข้าพบทันตแพทย์ทันที
  4. การอุดฟันชั่วคราวจะไม่คงทนมันสามารถหลุดออกมาได้ง่าย คนไข้ต้องติดต่อทันตแพทย์เพื่อเปลี่ยนตัวอุดชั่วคราวเป็นถาวรหรือรับการรักษาอื่นๆตามที่ทันตแพทย์นัดหมาย ถ้าคนไข้ไม่ทำการเปลี่ยนการอุดชั่วคราวคนไข้มีโอกาสเกิดปัญหาที่รุนแรงขึ้นได้

ข้อดีและข้อเสียของการอุดฟันด้วยวัสดุอุดชั่วคราว

ข้อดี

  • ราคาถูก
  • ขั้นตอนการทำไม่ยากและซับซ้อน
  • สามารถรื้อออกได้ง่ายเมื่อต้องมาทำการรักษามากกว่าหนึ่งครั้งเช่น การรักษารากฟัน

ข้อเสีย

  • การอุดฟันชั่วคราวจะไม่คงทนมันสามารถหลุดออกมาเมื่อไหร่ก็ได้
  • อายุการใช้งานจำกัด ใช้เพียงชั่วคราวเท่านั้น
  • ไม่สามารถใช้ฟันด้านที่อุดชั่วคราวไปได้ ภายใน 1-2 ชั่วโมงแรก เพราะวัสดุยังไม่แข็งแรงพอ

ขั้นตอนในการอุดฟัน

สำหรับขั้นตอนในการทำอุดฟันนั้นมีดังนี้

  1. เริ่มการกรอฟัน
    • โดยทั่วไปจะใช้หัวกรอเร็ว (Airotor)กรอฟันก่อน
    • เมื่อกรอฟันลึกขึ้นจนส่วนที่ผุใกล้โพรงประสาทฟัน อาจใช้หัวกรอช้า (Airmotor)
    • บางกรณีที่ผู้ป่วยเสียวฟันหรือฟันผุลึก อาจฉีดยาชาเพื่อระงับอาการเสียวฟัน
  1. การใส่วัสดุอุดฟันไปในบริเวณฟันที่ผุ ที่ทันตแพทย์ได้ทำการกรอฟันเตรียมไว้แล้ว และเมื่อเติมวัสดุอุดฟันเข้าไปแล้ว ทันตแพทย์ก็จะทำการตกแต่งให้ได้รูปร่าง (รายละเอียดขึ้นอยู่กับวัสดุที่ใช้อุดฟัน)

การป้องกันไม่ให้เกิดฟันผุ

  1. ป้องกันฟันผุโดยเข้ารับการรักษากับทันตแพทย์ควรพบทันตแพทย์อย่างสม่ำเสมอและปฏิบัติตามคำแนะนำในการดูแลเหงือกและฟัน
  2. ป้องกันฟันผุด้วยตัวเองที่บ้านแปรงฟันวันละ 2 ครั้งทำความสะอาดร่องฟันด้วยไหมขัดฟันและ/ หรือใช้แปรงทำความสะอาดซอกฟัน
  3. ไปพบทันต์แพทย์เพื่อตรวจฟันทุกๆ 6 เดือน เพื่อป้องกันและหยุดปัญหาต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น และเป็นการตรวจพบปัญหาเล็กๆ ก่อนที่จะเป็นปัญหาใหญ่
  4. ใช้ผลิตภัณฑ์ที่ประกอบด้วยฟลูออไรด์ รวมถึงยาสีฟัน
  5. หลังอาหารมื้ออื่นๆ อาจใช้วิธีบ้วนปาก นอกจากท่านที่มีฟันซ้อนเก หรือใส่เครื่องมือจัดฟัน หรือฟันผุง่าย ควรแปรงฟันหลังทานอาหารด้วย
  6. ควรปรับปรุงพฤติกรรมการบริโภคอาหารหวาน ด้วยการลดความถี่ในการบริโภคน้ำตาล ไม่กินจุบกินจิบ และหลีกเลี่ยงขนมหวานเหนียวหนึบติดฟัน และลดเครื่องดื่มที่เป็นกรด เช่น น้ำอัดลม โซดา
  7. พบทันตแพทย์ เพื่อตรวจและรักษาสุขภาพในช่องปาก รับคำแนะนำต่างๆ ทำการเคลือบหลุมและร่องฟัน หรือให้ฟลูออไรด์เข้มข้นเพื่อเป็นการป้องกันฟันผุตามที่ทันตแพทย์แนะนำ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่นโยบายความเป็นส่วนตัว

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลในการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาในการใช้งานที่ดีของเว็บไซต์ หากท่านไม่ยอมรับเว็บไซต์นี้จะไม่สามารถวัดผล เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

บันทึกการตั้งค่า